ทางออกของวิกฤติขยะพลาสติก

จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในปัจจุบัน    มีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายรูปแบบ ที่มีความสะดวก คงทน และสวยงาม  ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ในขณะเดียวกันที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการกับวัสดุที่นำมาใช้   หรือมีการจัดการที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอ  ทำให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้อง ขยะส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์พลาสติก

ขยะพลาสติก

“ถุงพลาสติก” เป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด จำนวน 5 แสนล้านใบทั่วโลกa รองลงมาคือ “หลอดเครื่องดื่ม  ฝาพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหาร” ซึ่งขยะเหล่านี้จะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 500 ปี จึงจะสลายตัวหมดb  ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปทั่วระบบนิเวศทั่วทุกมุมโลก   ทำให้เกิดปัญหาไมโครพลาสติก ขยะพลาสติกในทะเล  ขยะพลาสติกในดิน ถึงแม้บางส่วนสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ยังมีจำนวนน้อย และต้องคำนึงถึงคุณภาพของพลาสติก ความสะอาดและความปลอดภัย

Plastic waste, Recycle waste, waste separation

ประเทศไทยกับปัญหาขยะพลาสติก

ขยะพลาสติกในประเทศไทย เกิดขึ้นปีละ 2 ล้านตัน สามารถรีไซเคิลได้ 0.5 ล้านตัน  ส่วนที่เหลือนี้ เป็นขยะถุงพลาสติก 1.2 ล้านตัน  ซึ่งเป็น single-use plastic  กำจัดโดยการฝังกลบร่วมกับขยะอื่น ๆ ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายนับร้อยปี  ทำให้เปลืองงบประมาณ และก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกC

นโยบายการแก้ปัญหาขยะพลาสติกของไทย

รัฐบาลได้จัดทำ roadmap การจัดการขยะพลาสติกของประเทศ (2561 – 2573) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะพลาสติก
โดยมีเป้าหมายดังนี้

1) ลด และ เลิก ใช้พลาสติกเป้าหมาย ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • พลาสติกที่เลิกใช้ภายในปี 2562

    • พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม
    • พลาสติกที่ผสมสาร oxo
    • พลาสติกไมโครบีด
  • พลาสติกที่เลิกใช้ภายในปี 2565

    • พลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
    • กล่องโฟมบรรจุอาหาร
    • แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียว
    • หลอดพลาสติก

 2) นำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ในปี 2570

อ้างอิงข้อมูล
a: ขยะพลาสติก ปัญหาระดับโลก, 2562
b: ภัยอันตรายจากขยะพลาสติก, ม.ป.ป.
c: ww.bltbangkok.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก MTEC