รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯพณฯ ท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตภาคเอกชนด้านพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ นำโดยนายกสมาคมพลาสติกชีวภาพ คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ เข้าพบเพื่อเสนอแผนการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพในประเทศ โดย SMS Group – ดร. ศิวรัตน์ บุณยรัตนกลิน ได้ร่วมเข้าเสนอแผนการแก้ปัญหาและผลักดันอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยให้เป็นศุนย์กลางพลาสติกชีวภาพของภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพให้เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่ยั่งยืน ภายใต้ ‘โมเดลคนละครึ่ง’ เนื่องจากการผลิตพลาสติกชีวภาพนั้นมีต้นทุนสูงเป็น 2–3 เท่า ของพลาสติกทั่วไปที่ผลิตจากปิโตเลียม จึงเป็นอุปสรรคของภาคเอกชนที่จะหันมารณรงค์และซื้อผลิตภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพนีี้ในการดำเนินธุรกิจของตนและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  

สำหรับ ‘โมเดลคนละครึ่ง’ นี้มีการนำเสนอการลดหย่อนภาษีที่ 350% หรือเท่ากับมีการสนับสนุนให้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 250% ซึ่งจะสามารถจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ถุงพลาสติกชีวภาพที่สลายตัวได้ทางชีวภาพมากขึ้นโดยผ่านการเห็นชอบและพร้อมจะสนับสนุนโมเดลต่อไปในระยะยาว ซึ่งประโยชน์ที่จะก่อเกิด คือ การลดปัญหาขยะในสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนและความได้เปรียบทางการผลิตพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากประเทศไทยนั้นเป็นผู้นำการผลิตวัตถุดิบหลัก เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง และยังเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ เช่น TPS (Thermoplastic Starch) ที่เพิ่มมูลค่าจากแป้งมันสำปะหลังรวมไปถึงเม็ดพลาสติกชีวภาพอื่นๆ เช่น PLA (Polylactic Acid) และ PBS (Polybutylene succinate) อีกด้วย 

SMS Group ในฐานะผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปรในเมืองไทย เล็งเห็นถึงปัญหาและโอกาสในการพัฒนาเพื่อต่อยอดพืชเศรษฐกิจไทย ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์รักษ์โลกอย่างยั่งยืน (Sustainable products) ทั้งนี้จึงร่วมเสนอแนวคิดร่วมกับ กระทรวงการคลังแห่งประเทศไทย และ สมาคมพลาสติกชีวภาพแห่งปะเทศไทย เพื่อรณรงค์การใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ตอบโจทย์ BCG Model (Bio-Circular-Economy) อีกทั้งยังเป็นการระดมสมองปรับแผนพัฒนาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงปี 2030 เพื่อก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยและเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับเหล่าประเทศในภุมิภาคเอเชีย

ทั้งนี้จึงร่วมเสนอแนวคิด ร่วมกับ กระทรวงการคลังแห่งประเทศไทย และ สมาคมพลาสติกชีวภาพ เพื่อรณรงค์การใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ตอบโจทย์ BCG Model (Bio-Circular-Economy) อีกทั้งยังเป็นการระดมสมอง ปรับแผนพัฒนาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงปี 2030 เพื่อก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยและเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับเหล่าประเทศในภูมิภาคเอเชีย 

อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการแก้ปัญหาภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งต้นตอสำคัญของการเกิดปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง คือ การนำผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมมาใช้ ทั้งนี้ประเทศไทยเราได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการประชุม UNFCCC COP26 ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2065 และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 

ซึ่งโมเดลธุรกิจ BCG จึงถือเป็นโมเดลสำคัญที่จะทำให้ไทยเราบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืน การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ทำมาจากอ้อยและมันสำปะหลังที่ผลิตในประเทศไทยแทนที่พลาสติกทั่วไปมากเท่าไหร่ ก็ทำให้เราลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเป็นกลางทางคาร์บอนได้มากเท่านั้น