Waste Separation Does Matter ‘การแยกขยะช่วยโลกมากกว่าที่เราคิด’

จากรายงานของ Waste Generation and Recycling Indices 2019 พบว่า สถานการณ์ขยะโลกกำลังน่าเป็นห่วง เนื่องจากในแต่ละปี มีขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal Solid Waste) เกิดขึ้นปีละมากกว่า 2.1 พันล้านตัน แต่มีเพียง 16%  หรือราว 323 ล้านตันเท่านั้น ที่จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
นอกจากนี้องค์การอาหารโลกยังประเมินว่าทั่วโลกผลิตขยะอาหารอย่างน้อย 30% จากอาหารทั้งหมดทำให้ขยะอาหารกระจายอยู่ในทุกส่วนของขยะซึ่งรวมอยู่ในถังเดียว ถ้าเราสามารถคัดแยกขยะอาหารมาใส่ในถุงรักษ์โลกและย่อยสลายได้ จะช่วยลดภาระของการจัดเก็บขยะลงได้
วันนี้คุณแยกขยะถูกวิธีแล้วหรือยัง? เพราะการแยกขยะช่วยโลกได้มากกว่าที่คิด ยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วยแล้ว การแยกขยะนอกจากจะช่วยเซฟโลก ยังเซฟเจ้าหน้าที่กำจัดขยะด้วย
สิ่งสำคัญของกระบวนการจัดการและคัดแยกขยะควรเริ่มต้นที่บ้านหรือตัวเราเอง ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกเพื่อรวบรวมและขนส่งขยะ โดยเฉพาะขยะอินทรีย์เช่น ขยะเศษอาหาร ไม่ให้ปนเปื้อนกับขยะที่รีไซเคิลได้และขยะอื่นๆ ถ้าถุงพลาสติกเหล่านั้นเป็นถุงขยะรักษ์โลก ก็จะช่วยปริมาณขยะพลาสติกของโลกได้ หลังจากนั้นต้องนำไปทิ้งให้ถูกที่
ถังขยะสีเขียว คือ ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก ซึ่งเป็นขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหารที่กินเหลือ เปลือกผลไม้ เศษใบไม้ หรือ เนื้อสัตว์ ซึ่งขยะเหล่านี้จะนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จะเห็นได้ว่าระบบของเราในระดับประเทศยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้คัดแยกอย่างเป็นรูปธรรมที่ดีมากพอ
ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มจากที่บ้าน หรือ ภายในองค์กรของเรา ที่บริษัท SMS Corporation นอกจากมีการคิดค้นพัฒนาสูตรพลาสติกชีวภาพ มาแปรรูปเป็นพลาสติกและทำการผสมสูตรเพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนำไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบางและแปรรูปเป็นถุงขยะรักษ์โลกแล้ว เรายังกระตุ้นและรณรงค์ให้พนักงานทุกคนทำการคัดแยกขยะทั้งที่บ้านและที่ทำงาน โดยนำไปฝังกลบให้ได้ปุ๋ยหมักภายใน 3-4 เดือน ข้างหน้า เพื่อนำปุ๋ยนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เมื่อนำถุงขยะรักษ์โลกไปฝังกลบในดินเพียงระยะเวลา 1 เดือน เราจะสามารถเก็นได้ว่า ถุงนั้นได้เริ่มทยอยย่อยสลายแล้ว ขึ้นอยู่กับอุณหภุมิและความชื้นของอากาศในบริเวรที่ฝัง ซึ่งถือว่าเป็นการรณรงค์การทำ Bio-Circular Economy ในภาคครัวเรือนและผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย